บล็อคประกอบการเรียนการสอนวิชา อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ภัยร้ายที่มาพร้อมกับ รองเท้าส้นสูง

 
         ภัยร้ายจากรองเท้าส้นสูง ค่ารักษาพยาบาลมหาศาล

         รองเท้าส้นสูง รองเท้าส้นเข็ม หรือ แม้กระทั่งรองเท้าส้นตึก ล้วนเป็นอัญมณีประดับเรียวขาที่ผู้หญิงทั่วโลก หลงใหลและจะต้องมีเก็บไว้เป็นคอลเลคชั่น เพราะนอกจากมันจะทำให้ผู้ที่สวมใส่แลดูผอมบางและมีเรียวขาที่เรียวมากขึ้น แล้ว รองเท้าส้นสูงยังแสดงออกถึงความหรูหรามีระดับอีกด้วย 


         แต่หญิงสาวชาวอังกฤษจำนวนไม่น้อย ได้ออกมาเปิดใจกับหนังสือพิมพ์เดลีเมล์ว่า พวกเธอได้ใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนกว่า 29 ล้านปอนด์ต่อปี ไปกับการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดจากการสวมใส่รองเท้าส้นสูงปรี๊ด

         เพราะในทุกๆ ปี พวกเธอต้องประสบกับปัญหาที่เกิดจากการสวมใส่รองเท้าส้นสูง ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดขา ปวดหลัง ขาโก่งงอผิดรูป หลังงอ เป็นตาปลา หรือตาตุ่มด้านดำ อันเนื่องมาจากการเสียดสีของรองเท้าที่คับจนเกินไปก็ตาม

         ยิ่งไปกว่านั้น ผู้หญิงเหล่านี้ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายราคาแพงๆ ไปกับคอร์สบำรุงเท้า เดือนละเป็นหมื่นเลยก็มี เพราะทาง National Health Service หรือ NHS ได้ทำการสำรวจออกมาจนพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วคุณสาวๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับเท้าคู่สวยสูงถึง 29 ล้านปอนด์ต่อปี ซึ่งหมดไปกับการทำทรีตเมนต์บำรุงเท้า ราวๆ 10.4 ล้านปอนด์ และ 1 ใน 5 ของผู้ที่มาปรึกษาเรื่องเท้า ล้วนแต่มีปัญหาเรื่องตาปลาที่เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงควบคู่ไปด้วย   
         10.5 ล้านปอนด์ หมดไปกับการรักษาโดยการผ่าตัดเรียวขาที่ยาวไม่เสมอกันให้กลับมาเท่ากันอีกครั้ง 3.3 ล้านปอนด์ ใช้จ่ายไปเพื่อการรักษาอาการนิ้วเท้าติดกัน หรือที่เรียกว่าตะคริวที่นิ้วเท้านั่นเอง อีก 2.9 ล้านปอนด์ ถูกใช้ไปในการตัดตกแต่งผิวหนังบริเวณตาตุ่มที่ด้านดำ อันเนื่องมาจากการเสียดสีของรองเท้าส้นสูง สำหรับ 2 ล้านปอนด์ ถูกใช้ไปสำหรับการผ่าตัดเส้นประสาทบริเวณเท้าที่ถูกกดทับ และที่เหลืออีกประมาณ 2 แสนปอนด์ ก็หมดไปกับการรักษาอาการเล็บคุด

         ศัลยแพทย์จากเกาะอังกฤษต่างออกมายอมรับว่า ผู้ป่วยค่อนข้างให้ความสนใจอย่างมากกับนวัตกรรมรักษาเท้ารูปแบบใหม่ โดยการฉีดเนื้อเยื่อเข้าไปที่บริเวณตาตุ่ม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายเท้ามากขึ้น เมื่อต้องใส่รองเท้าหนังส้นสูงหรือรองเท้าหุ้มข้อ

         เอมมา ชัพเพิล ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเท้า กล่าวว่า "แน่นอนว่ารองเท้าส้นสูงเป็นสิ่งของคู่กายสาวๆ ที่จะต้องมีติดไว้สักชิ้นหรือสองชิ้น แต่หากลองเลือกใส่รองเท้าส้นแบนที่ดูดีและมีสไตล์ ก็จะทำให้คุณสวยได้ไม่แพ้ใคร ยิ่งไปกว่านั้นมันยังดีต่อสุขภาพเท้าของคุณด้วย"

         นอกจากนี้ยังได้มีการสำรวจประชาชนในเมืองแมนเชสเตอร์และลิเวอร์พูล พบว่าหญิงสาววัย 15 ปี จำนวน 1,000 คน บ่นว่าเธอมีอาการเจ็บปวดอันเนื่องมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงแทบทั้งสิ้น และเกือบครึ่งหนึ่งของหญิงสาวชาวอังกฤษ ก็ออกมายอมรับแล้วว่า เธอต้องทนทุกข์ทรมานกับรองเท้าส้นสูงเป็นเวลา 5 วัน ในหนึ่งสัปดาห์ หรือบางคนอาจจะมากกว่านั้น   
         ผลสำรวจยังชี้อีกว่า 4 ใน 10 ของผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูง เคยประสบอุบัติเหตุ อาทิเช่น ส้นรองเท้าพลิกมาแล้ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมือและเท้า ต่างลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า รองเท้าส้นสูงที่เหมาะสมและไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเท้า ควรเป็นรองเท้าที่มีความสูงไม่เกิน 1 นิ้วครึ่งจะดีที่สุด 

tip for High Heels 

        ปัญหาที่พบกับคุณผู้หญิงที่ชอบสวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำก็คือ จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เกิดโรคข้อนิ้วหัวแม่เท้าเสื่อม แข็ง เก ผิดรูป รวมทั้งอาจเกิดรอยด้านของผิวหนังบริเวณที่ถูกเสียดสี จนทำให้เป็นตาปลา เกิดก้อนแข็ง ๆ ปูดนูนขึ้น เจ็บบริเวณเล็บ หรือเล็บขบ อีกทั้งขณะที่สวมรองเท้าส้นสูง อวัยวะบางส่วนของร่างกายต้องทำงานหนักขึ้นจนอาจเกิดผลเสียตามมาอีกได้

04578_002.jpg

3 โรคที่มากับรองเท้าส้นสูง

1.กล้าม เนื้อน่องเอ็นร้อยหวาย ในขณะที่สวมใส่รองเท้าส้นสูง คุณสาวๆ ต้องยืนอยู่ในท่าเขย่ง ซึ่งถ้าร่างกายต้องอยู่ในท่านี้เป็นเวลานานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อน่องเอ็นร้อยหวายตึง และหดสั้น สังเกตได้จากอาการปวดน่องบ่อยๆ จากการเดิน หรือการเป็นตะคริว

2.โครงสร้างของเท้า เมื่อกล้ามเนื้อเอ็นร้อยหวายหดสั้นอยู่บ่อยๆ จะส่งผลเสียต่อโครงสร้างของเท้า เมื่อยืนด้วยเท้าเปล่าจะเห็นว่าเท้าแบน ทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณอุ้งเท้า และส้นเท้า จนกลายเป็นปัญหาฝ่าเท้าตามมา

3.กระดูก สันหลัง การใส่รองเท้าส้นสูง ทำให้ปลายเท้าส่วนหน้าต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายไว้เกือบทั้งหมด เพื่อให้สามารถยึดตัวให้ตั้งตรง และทรงตัวได้ ในขณะเดียวกัน สรีระของร่างกายก็จะปรับให้อวัยวะส่วนหลัง บริเวณช่วงเอวแอ่นไปด้านหลัง ส่งผลให้เกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อ จนถึงขั้นปวดหลังในที่สุด


 
ที่มาจาก :
 Jerry Maguire
  
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น